ดราม่าลงเรียนราคาแพงแต่ไม่เข้าใจ ไม่ได้อะไรกลับมา

ดราม่าลงเรียนราคาแพงแต่ไม่เข้าใจ ไม่ได้อะไรกลับมา
ดราม่าลงเรียนราคาแพงแต่ไม่เข้าใจ ไม่ได้อะไรกลับมา
ดราม่าลงเรียนราคาแพงแต่ไม่เข้าใจ ไม่ได้อะไรกลับมา
ทำไมมือใหม่สนใจ Elliott Wave
และพยายามลงเรียน เพื่ออยากจะเข้าใจ
คิดว่ามันเป็น ศาสตร์ที่เทพที่สุดในตลาด เพราะมันเข้าใจยาก และซับซ้อน ผลลัพธ์ก็คงออกมาดีมากๆๆ
จะบอกความลับ อย่างนึงในตลาดให้นะครับ
ความลับคือ ตลาดนี้ไม่มีความลับ
หรือเทคนิคพิเศษโคตรเทพ ที่ไม่มีคนรู้
หรือใช้กันแค่บางกลุ่มเท่านั้น มันไม่มี
จริงๆ แล้วทุกเทคนิคในตลาดนี้
มันสอดคล้องกัน
พูดง่ายๆ ว่า..
ต่างวิธีการ แต่เป้าหมายคือจุดเดียวกัน
อยู่ที่มุมมองของคนเอาเทคนิคมาใช้
เช่นคุณจะเดินทางจาก ยะลาไปกรุงเทพฯ
– รถยนต์
– รถจักรยานยนต์
– เครื่องบิน
– รถไฟ
ต่างวิธีการ ต่างกัน
แต่จุดหมายคือจุดเดียวกัน
แต่มีปัจจัยอย่างอื่น
เช่นในตลาดนี้
คือ ความยาก ความง่าย
ความเข้าใจในการศึกษา และนำมาใช้
และศาสตร์ทาง Elliott wave นั้นยากที่สุด (สำหรับผม) ทำให้มุมมองของคนที่ไม่มีความรู้ด้านนี้ เข้าใจว่า มันจะเป็นเทคนิคที่ดีที่สุด
ให้ดูภาพประกอบ ข้างบน
4 ช่อง มีเทคนิค 4 เทคนิค
– Elliott Wave
– Price Action
– Harmonic pattern
– Fibonacci Retracement
มองต่างกันคนละภาพ แต่จุดหมายคือที่เดียวกัน
แต่เงื่อนไขต่างกัน และวิธีการ
ถามว่าผมถนัดอะไรที่สุด
ผมถนัดทุกเทคนิค
แต่จะเลี่ยง Elliott Wave
เพื่อลดขั้นตอน และลดเวลาการวิเคราะห์ครับ
ถามว่าต้องเรียนรู้ทุกอย่างไหม
สำหรับผมแนะนำให้ศึกษา
(พื้นฐาน)ทุกเทคนิค แล้วลองดูจริต ตัวเองว่าชอบแบบไหน
และศึกษา เทคนิคนั้นให้เราถ่องแท้
ส่วนระบบที่ผมเทรด คือระบบ
Multiple Factor หรือการเทรดหลายปัจจัย เพื่อนำมาหา จุดทับซ้อนกันจองแต่ละเทคนิค ( confluence )
ยกตัวอย่างเช่น..
คนนึง เทรด Demand supply
คนนึง เทรด Fibonacci
คนนึงเทรด Harmonic
คนนึงเทรด Chart Pattern
ผมเนี่ย เอาทั้ง 4 คนมารวมกัน
รวมในที่นี้ คือเอามุมมองของคนทั้ง 4 ที่รอในจุดเดียวกัน
ในเมื่อเทคนิคมันสอดคล้องกัน
เราก็เลย นำมุมมองของทุกคนมาเทรด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความน่าจะเป็นสูงสุด
แต่… ไม่ได้แปลว่าจะ 100%
เพราะไม่มีเทคนิคไหนในตลาดนี้ จะแม่นยำ 100%
เราจึงมีสิ่งที่เรียกว่า Money management เข้ามา
mm เข้ามาทำหน้าที่
ในเวลาที่เรา “มองตลาดพลาดไป”
เพื่อให้เราไม่สูญเสียเงินทุนทั้งหมดไป
แม้ว่า เราจะเทรด 10 ครั้ง
แต่ถ้าเรามี Money management ที่ดี เราชนะแค่ 4 ครั้ง แพ้ 6 ครั้ง
เราก็ได้กำไร และอยู่รอดในระยะยาว
ผมอยากให้ทุกคนมอง Forex แบบ long term หรือการเทรดระยะยาว
ผลลัพธ์ไม่ได้วัดกันที่ ไม่กี่ออเดอร์
แล้วคุณจะเทรดแบบไม่เครียดเลย
คุณสามารถ Stoploss ได้
แล้วยังรู้สึกเฉยๆ เพราะคุณรู้ว่ามันจะกลับมาหาคุณในที่สุด (ระยะยาว)
เวลาถูกทางคุณก็ไม่ดีใจอะไร เพราะคุณรู้ว่ามันเป็นไปตามแผน
ผลลัพธ์ที่ได้มา ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย
ตลาดนี้เราคุมไม่ได้
เราคุมได้อย่างเดียวคือ Risk
และจง managements มันให้อยู่หมัด
เพราะมันคือทางรอดในระยะยาว อย่าพยามไปคิดแทนตลาด ให้เทรดตามสิ่งที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่คิด
และก็ plan your trade and trade your plan แค่นั้นเอง

5 สาเหตุที่ทำให้เทรดเดอร์เกิดความกลัว

5 สาเหตุที่ทำให้เทรดเดอร์เกิดความกลัว

ตลาด Forex นี้มีความผันผวนและคาดเดาได้ยาก ต่อให้มีกลยุทธ์ที่ดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถการันตีว่าคุณจะทำกำไรได้ทุกครั้ง

นอกจากเทรดเดอร์จะต้องรับมือกับตลาดที่ผันผวนซึ่งเกิดจากข่าวสารต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อตลาด ยังต้องเผชิญหน้ากับความกลัวในจิตใจของเทรดเดอร์อีกด้วย … ซึ่งพี่ม้าขอบอกเลยว่า เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเรายังมีความเป็นมนุษย์

หากไม่เข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิด “ความกลัว” ในการเข้าเทรด จะไม่สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้เลย แล้วเราจะไม่สามารถยกระดับพัฒนาการเทรดที่ดีได้
วันนี้พี่ม้าขอนำเสนอ 5 สาเหตุ ที่ทำให้เกิดความกลัว ได้แก่

1. การ Overtrade เทหมดหน้าตัก โดยไม่มี Money Management ที่ดี การที่เราไม่ยอมจำกัดการขาดทุนให้เท่ากันทุกครั้ง จะทำให้เกิดการ Overtrade เพราะความโลภ เมื่อกราฟไปผิดทาง เราก็จะกลัวการขาดทุน เพราะไม่ได้วางแผนที่จะเสียเงินจำนวนเท่านี้มาก่อน
ยกตัวอย่างเช่น พอร์ท $1000 แล้วไปเข้าออเดอร์ จนโดนลากไป $300 แบบนี้ จะทำใจคัทลอสไม่ลง เพราะไม่ได้เตรียมใจจะเสียเงิน 30% ของพอร์ทมาก่อน สรุปโดนลากต่อไปเรื่อยๆ จนล้างพอร์ท

แต่ถ้าเราวางแผน ว่าทุน $1000 แล้วจะกำหนดเงินที่เทรดขาดทุน ครั้งละ $30 เมื่อถึงจุด Stoploss เราก็จะตัดขาดทุนได้ตามแผนทันที เพราะเราเตรียมใจขาดทุนในการเทรดครั้งนี้ด้วยจำนวนเงินที่น้อย และรับความเสี่ยงได้

2. ไม่ได้มองภาพรวมในการเทรด แต่ไปโฟกัสกับการสตอปลอส แค่ 1-2 ครั้ง เทรดเดอร์มือใหม่มักจะให้ความสำคัญกับการออกไม้ ครั้งแรก หรือสองครั้ง พอเริ่มขาดทุน ก็จะเกิดความกลัว ไม่เข้าทำตามแผนเทรดเดิม หรือไม่มีวินัยในการเทรดในครั้งต่อๆไป คุณควรมองเกมระยะยาว ว่าหลังจากเทรดไปแล้ว 5-10 ครั้ง กำไรมากกว่าขาดทุนหรือไม่ เพราะความผันผวนของตลาด มันไม่สามารถบอกได้หรอกครับ ว่าครั้งไหนจะกำไร

3. ยึดติดกับการขาดทุนหนักๆ จนทำลายความมั่นใจในการเทรดครั้งต่อไป ข้อนี้ถือว่าเป็นปัญหาของคนที่เคย Overtrade มาก่อน ซึ่งเราสามารถแก้ได้ด้วยการคุมความเสี่ยง ตามข้อ 1 ถ้าเสียเยอะๆ แนะนำให้พัก แล้วเริ่มต้นเข้าตลาดมาใหม่ ด้วยการเน้นเรื่อง “คุมความเสี่ยง”

4. เชื่อมั่นในมุมมองและกรอบความคิดมากเกินไป
ยกตัวอย่างง่ายๆ ปีนี้เป็นปีที่ทอง ขึ้นไปทำ All time high ราคาขึ้นทะลุทุกต้านแบบบั้งไฟ ตอนทองไปที่ราคา 2070 ผมเริ่มเห็นสัญญาณ Divergence และเริ่มระแวงว่าอีกไม่นานจะปรับตัวลง แต่ก็มีเพื่อนๆ และคนใกล้ตัว ที่แห่ไปซื้อทองช่วงนี้ ช่วงทอง 22,000 บ่นแพง แต่หอบเงินไปซื้อทองเพิ่มตอน 30,000 แบบนี้เค้าเรียกว่า Bias สุดๆ ให้ระวังไว้ พอราคาทุบลงมา จะเกิดความเสียเซลฟ์และกลัวการลงทุนไปซะอย่างงั้น

5. ไม่ศึกษาเครื่องมือการเทรด และทำความเข้าใจให้มากพอ
ก่อนเข้าเทรดทุกครั้ง ต้องจะมีกลยุทธ์การเทรดที่เราทดสอบมาแล้ว ว่ามีโอกาสทำกำไรในตลาดได้ โดยอาจจะศึกษาฟรีตาม Youtube หรือลงเรียนคอร์สพื้นฐานก็ยังดี อย่าเข้ามาในตลาดถ้ายังไม่พร้อม พวกนี้อาศัยชั่วโมงบินครับ หากเราเดินเข้าไปในสงครามโดยที่ไม่มีอาวุธครบมือ มันก็เสี่ยงที่จะได้รับความพ่ายแพ้ (ถึงชนะก็คือฟลุกนั่นแหละครับ)

หากเพื่อนๆ อ่านแล้วคิดว่า 5 ข้อนี้ สามารถทำไปแก้ไขและปรับปรุงการเทรดได้ ถึงเวลาแล้วครับ ที่จะเปลี่ยนความกลัวเป็นความกล้า หันหน้าสู่กับตลาดอีกครั้ง

เทคนิคการเทรดสั้นแบบScalping

เทคนิคการเทรดสั้นแบบScalping
เทคนิคการเทรดสั้นแบบScalping
#เทคนิคการเทรดสั้นแบบScalping
หลายคนมักจะมีปัญหาเรื่องการตั้งค่า TP ไว้ไกลๆโดยเน้น RR ที่มีสัดส่วนมากๆ สำหรับมืออาชีพเค้าจะตั้ง RR ไว้ที่ 1:2 หรือ 1:3 มากสุด 1:4 นี่ก็ถือว่าหรูมากแล้ว การตั้งอัตราส่วน RR ไว้ยิ่งมากมันก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น คล้ายๆกับการตั้งระยะ SL ไว้ไกลๆมันก็มีความเสี่ยงมากเช่นกัน(ยกเว้นกรณีที่เงินในพอร์ตเยอะมากๆอันนั้นอีกเรื่อง)
.
ปัญหาเรื่องราคาวิ่งไปไม่ถึง TP เกิดขึ้นได้บ่อยมากๆ บางคนตัดใจขยับ TP ใกล้เข้ามา บางคนปิดทำกำไรไปเลย บางคนรอจนกว่าราคาจะวิ่งชน TP หากเราวางแผน MM มาดี วางตำแหน่ง SL และ TP ในอัตราส่วนที่เหมาะสมก็ไม่มีปัญหาไปเลื่อน TP เพราะวินัยในการเทรดที่ดีคือ เมื่อวางแผนมาดีแล้วก็ปล่อยให้ระบบมันทำงานเองไม่ต้องไปยุ่งกับมัน
.
แต่หลายๆครั้งที่ทั้งมือใหม่มือเก่าเจอกันบ่อยๆก็คือ มีเวลาเฝ้าหน้าจอค่อนข้างมาก มักจะเลื่อนโน้นเลื่อนนี้ ทำให้ไม่มีระบบที่ตายตัว หากมีเวลาเฝ้าหน้าจอมากและชอบเลื่อน TP ก็ควรใช้เทคนิคการเก็บกำไรสั้นๆเป็นระยะๆแทนจะดีกว่า
.
ในภาพตัวอย่างสมมุติตั้ง TP ไว้ที่ $30 ราคาวิ่งขึ้นๆลงๆ และวิ่งทำตัวเลขกำไรไปมากสุดคือ $18 แต่ TP อยู่ที่ $30 เมื่อปล่อยหรือเผลอมาเห็นอีกครั้งราคาชน SL ไปแล้ว แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆและน่าเสียดาย
.
วิธีแก้ไขมี 2 วิธีคือ
.
1. ปิดทำกำไรในราคาที่พอใจ แต่ส่วนมากไม่ทำกัน เพราะอยากได้กำไรมากๆ
.
2. ใช้ระบบเก็บกำไรเป็นรอบๆสั้นๆแบบ Scalping ตามภาพ ยกตัวอย่างการเทรด Buy ในกรณีเทรนด์เป็นแรงฝั่ง Buy
.
หากเราเก็บกำไรแรกที่ $15 หรือ อาจต่ำกว่าเมื่อเห็นราคาวิ่งขึ้นๆลงๆมานาน แล้วไปถึง $15 แล้วย่อตัวลง อาจปิดทำกำไรที่ $10 – $12
.
หลังจากปิดทำกำไรไปแล้วก็รอราคาลงมาในจุดที่ได้ราคาที่ดี ซึ่งบ่อยๆครั้งมันวิ่งลงมาต่ำกว่าจุดที่เปิดออเดอร์แรกเสียอีก ตัวอย่างตามภาพหากเรา เราจะได้จุดเข้าออเดอร์ที่สองที่ต่ำกว่าออเดอร์แรก และจุดทำกำไรหากคิดจากออเดอร์แรกมันคือ $12 แต่หากเปิดในตำแหน่งใหม่ของ #2 เราจะได้จุดเข้าออเดอร์ที่ดีกว่าเดิม และได้ราคากำไรที่มากขึ้นอาจเป็น $15 นี่คือการเก็บกำไรรอบที่สอง
.
และรอราคาลงมาในตำแหน่งที่ดีกว่าออเดอร์แรกและสูงกว่าออเดอร์ที่สอง เราเปิด buy อีกครั้ง แต่คั้งนี้ราคาวิ่งไปไกลกว่าเดิม หากนับจากจุดที่เปิดออเดอร์แรก #1 เราจะได้ตัวเลขกำไรที่ $18 หากวัดจากจุดที่เปิดออเดอร์ที่สาม #3 ตัวเลขกำไรจะมากขึ้นอาจเป็น $23
.
จะเห็นได้ว่าเราได้กำไรทั้งหมด 3 รอบ ($15+$15+$23) หรืออาจมากกว่า แต่แนะนำให้เทรดตามเทรนด์หลักเท่านั้นเพราะราคาจะวิ่งไปได้ไกล แนวทางนี้จะช่วยให้ท่านที่ชอบเทรดสั้นๆแล้วราคาไม่ถึง TP หมดปัญหาไปได้ ลองประยุกต์ใช้ดูครับ

Forex Metatrader 4 แพลตฟอร์มการซื้อขาย

Antcyber Trading System
Trading-Success
Forex Metatrader 4 แพลตฟอร์มการซื้อขาย
ฟรี $ 30 เพื่อเริ่มการซื้อขายทันที
ไม่ต้องใช้การฝาก
เครดิตเข้าบัญชีของคุณโดยอัตโนมัติ
ไม่มีเงื่อนไขที่ซ่อนอยู่

สมัครรับโบนัส 30 เหรียญ ไปทดลองเทรดได้ฟรีที่

https://bit.ly/2PltXh8

และ หรือ https://bit.ly/2PaQwok

เทคนิคการเทรด Forex ที่ดีนั้นควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นหลักในการเข้าเทรด

หากต้องการเทรด Forex ให้ประสบความสำเร็จ และ ราบรื่น สม่ำเสมอ แนะนำว่าควรยึดหลักการเทรดตาม 8 หัวข้อด้านล่างนี้

1. ไทม์เฟรมใหญ่ความแม่นยำมักจะมากกว่าไทม์เฟรมเล็ก

2. ไทม์เฟรมใหญ่มีความมักจะเสี่ยงน้อยกว่าไทม์เฟรมเล็ก

3. ไทม์เฟรมที่เหมาะสมในการเทรดมากที่สุดคือ H1 และ H4 หรือ D1

4. เน้นเข้าออเดอร์ตามเทรนด์ หากเทรนด์ย่อยและเทรนด์หลักตรงกันยิ่งมีผลดีมากต่อการเทรด

5. ไม่ควรเข้าออเดอร์ในขณะที่แท่งเทียนกำลังวิ่ง ควรรอให้จบแท่งเทียนก่อน

6. เตรียมตัวหาจุดเข้าออเดอร์ในบริเวณที่เป็นแนวรับหากเป็นเทรนด์ขาขึ้น หรือ แนวต้านหากเป็นเทรนด์ขาลง

7. เลือกเข้าออเดอร์เมื่อแท่งเทียนปัจจุบันปิดตัวและเกิดแท่งเทียนใหม่ ให้รอความชัดเจนหากไม่ชัดเจนให้รอแท่งเทียนต่อไปก่อน

8. ต้องใส่ค่า Stop Loss และ Take Profit ทุกๆออเดอร์ที่เปิด MM ห้าม OVT

จริงอยู่ที่มีคนจำนวนไม่น้อย ที่เลือกเทรดในไทม์เฟรมต่ำๆเช่น M1 ,M5 หรือ M15 นั้นเป็นความสามารถเฉพาะตัวของบุคคลนั้น เนื่องจากการเทรดในไทม์เฟรมต่ำๆนี้ ต้องเสี่ยงต่อการกลับตัวของราคาที่มีโอกาสผันผวนเกิดขึ้นได้บ่อยๆ และถี่กว่าไทม์เฟรมใหญ่ๆ ระยะทางการทำกำไรในแต่ละออเดอร์ก็ไม่ได้ไกลมาก เพราะไทม์เฟรมเล็กจะมีการกลับตัวของราคาที่เร็วและถี่นั้นเอง

การเทรดในไทม์เฟรมเล็กจึงมีความเครียดและใช้เวลาในการนั่งจ้องหน้าจอแทบจะตลอดเวลา หากถามว่าการเทรดสั้นๆในไทม์เฟรมเล็กสามารถสร้างกำไรได้หรือไม่
คำตอบคือสามารถสร้างกำไรได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องเก็บกำไรสั้นๆในแต่ละรอบ ค่อยๆสะสมกำไรไปเรื่อยๆ และที่สำคัญต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดีด้วยในการเข้าออเดอร์แต่ละออเดอร์ เช่นกำหนดค่าความสูญเสียแต่ละออเดอร์ไว้ที่ 2% ของจำนวนเงินในพอร์ต เป็นต้น

จำไว้ว่า อะไรที่มนุษย์ทำได้ คุณก็ทำได้ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ฝึกฝน ทบทวน จดบันทึก

#การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญาณ ในการลงทุน

Forex Metatrader 4 Trading Platform

  • Free $30 To Start Trading Instantly
  • No Deposit Required
  • Automatically Credited To Your Account
  • No Hidden Terms

Sign up to receive a $ 30 bonus. Try trading for free at

https://bit.ly/2PltXh8

And or https://bit.ly/2PaQwok

เทคนิคการเทรดแบบกราฟเปล่า

เทคนิคการเทรดแบบกราฟเปล่า โดยไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบ Price action หรือ ใช้ Indicator อะไรเลยก็ได้ ในภาพอาจมีสัญญาณลูกศรที่ผู้เขียนได้พัฒนามาใช้งานนานมาแล้วมันเป็นผลจากการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย SMA200 กับ EMA10 เพื่อใช้ดูเทรนด์หลัก ท่านสามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยสองค่านี้ได้เลยดูแค่การตัดขึ้นตัดลงเท่านั้นก็พอจะมองเห็นเทรนด์หลักได้
.
การเทรดฟอเร็กซ์มันต้องมีจินตนาการถึงจะมีอรรถรสในการเทรด หากเทรดแบบทื่อๆดูสัญญาณแล้วเข้าออกตามสัญญาณบางทีมันก็แม่น บางทีมันก็พลาดอันเนื่องจากราคามันไปสุดปลายเทรนด์หรือมีข่าวแรงๆที่ประกาศออกมาส่งผลลบต่อคู่เงินที่เทรด
.
ข่าวมันเป็นอะไรที่สามารถเปลี่ยนทิศทางของตลาดได้เร็วที่สุด ทำลายสถิติที่ indicator ทั้งหลายใช้อ้างอิงลงไปในพริบตา แต่ข่าวมันจะมีสัญญาณแสดงออกมาก่อนประกาศตัวเลขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากติดตามและสังเกตุจะเห็นรูปแบบของกราฟก่อนประกาศข่าว อาจมีการพักตัวลงดื้อๆหากข่าวนั้นแรง อาจมีทิศทางหลอกๆหรือเกิดจากนักเทรดจำนวนหนึ่งที่มากพอที่ต่างคาดการณ์สวนการพยากรณ์ หรือ เกิดจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามาสร้างโวลลุ่มสั้นๆเพื่อทำกำไรสั้นๆ
.
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเทรดก็คือ แนวรับ แนวต้าน ซึ่งมองได้หลายรูปแบบ หากตีเส้นแนวนอนก็จะมองแบบแนวรับแนวต้าน เมื่อราคาเข้ามาทดสอบที่เส้นแนวรับหรือแนวต้านบ่อยๆแล้วไม่ผ่านแสดงว่าเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่ง
.
อีกวิธีหนึ่งที่มองแบบโซนราคาโดยการลากเป็นแถบระบาย หากใช้วิธีนี้เราจะมองเห็นการพักตัวตามโซนราคาได้ชัดเจน
พักตัวแล้วไปต่อ หรือ พักตัวแล้วกลับตัวลง มันเป็นพฤติกรรมปกติของตลาดฟอเร็กซ์อยู่แล้วที่ วิ่งแล้วพักวิ่งแล้วพัก
.
การใช้การมองแบบโซนราคามันก็จะคล้ายๆการมองแบบ Demand(ความต้องการซื้อ) และ Supply(ความต้องการขาย) ซึ่งจะแสดงออกถึงพฤติกรรมความต้องการซื้อ(Buy) กับ ความต้องการขาย(Sell) ได้ชัดเจน เมื่อมีการเข้าซื้อตอนสินค้าราคาถูกก็จะซื้อๆๆๆ เมื่อราคาขึ้นมาสูงก็จะลดการซื้อลงเพราะราคามันแพงเกินไปแล้วกำไรจะน้อย เมื่อกำลังซื้อลดลงมันก็จะแสดงรูปแบบการพักตัวของราคา ก็คือลักษณะ Sideway นั้นเอง เมื่อจำนวนซื้อมีมากและหยุดการซื้อ ความต้องการเทขายออกมาทำกำไรก็จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติของตลาดหุ้น หรือ ตลาดฟอเร็กซ์อยู่แล้ว
พฤติกรรมเหล่านี้มันเกิดขึ้นซ้ำๆ หากเราสังเกตุและเอามาใช้ประกอบการเทรดมันก็เกิดประโยชน์อย่างมาก มันเหมือนกฎธรรมชาติ เมื่อราคามันวิ่งมาแรงมันก็พักตัว(Base) แล้วมันก็วิ่งต่อแต่จะวิ่งตามทิศทางเดิม หรือ วิ่งกลับทิศทาง ก็ต้องดูหลายๆปัจจัยประกอบ แต่กราฟราคามันก็ช่วยแสดงออกมาให้เห็นได้ในระดับหนึ่งที่สามารถใช้ช่วยในการตัดสินใจได้พอสมควร
.
การทดสอบของราคาที่วิ่งมากระทำบริเวณโซนราคาหากมองแบบ Demand/Supply ยิ่งราคามาทดสอบบ่อยครั้งมากเท่าไหร่ โซนราคาก็จะยิ่งอ่อนแอ มีโอกาสทะลุได้มากขึ้น ซึ่งมันก็คือการปรับฐานราคาใหม่นั้นเอง ไม่มีสินค้าไหนหรอกที่จะคงราคาเดิมอยู่ในกรอบราคาสูงสุดต่ำสุดที่เท่าๆเดิมไปตลอด ราคาจะมีการปรับฐานใหม่ไปเรื่อยๆมีทั้งปรับขึ้นหรืออาจปรับลงมันไปตามกลไกการซื้อขายปกติของตลาดอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมีความต้องการซื้อมากราคาก็ย่อมสูง เมื่อมีความต้องการขายมากกว่าซื้อราคาก็ย่อมต่ำลง เป็นเรื่องปกติ แต่เรื่องปกติเหล่านี้มันแสดงออกมาผ่านกราฟราคาให้เราเห็นได้ เพียงแต่เราต้องสังเกตุบ่อยๆ เราจะเห็นการ วิ่ง พัก วิ่ง พัก และเห็นจุดเข้าทำกำไรได้ไม่ยาก
.
ปัญหาของการเทรดฟอเร็กซ์ที่มือใหม่ หรือ มือเก่าหลายๆคนมักจะคิดว่าจะเอาชนะปัญหานี้ก็คือการหาจุดเข้าออเดอร์ที่ดี โดยพยายามหาเครื่องมือให้สัญญาณแบบต่างๆ เพื่ออยากได้จุดเข้าออเดอร์ที่ได้กำไร หรือหาแหล่งคาดการณ์ทิศทางราคาของคู่เงินต่างๆว่านาทีนี้ ชั่วโมงนี้ วันนี้ ราคาจะไปทิศทางใด ตรงนี้มันเหมือนเราพึ่งจมูกคนอื่นหายใจ เครื่องมือต่างๆ การคาดการณ์ทิศทางราคาต่างๆ มันดีจริงแต่มันดีแค่ครึ่งเดียว หลายๆครั้งมันก็พอเราผิดทางได้เช่นกัน
.
ในการเทรดที่ดีเราควรเอาเครื่องมือต่างๆหรือผลการวิเคราะห์คาดการณ์ทิศทางของราคาจากแหล่งต่างๆมาช่วยสรุปออกมาว่ามันมีโอกาสกี่เปอร์เซนต์ แล้วเราค่อยมาวิเคราะห์จากกราฟราคา จากข่าวที่รอประกาศในช่วงนั้น ว่ามันสอดคล้องกับผลการสรุปจากเครื่องมือและการพยาการณ์ทิศทางหรือไม่ ตรงนี้แหละครับที่สำคัญ
“ทุกๆออเดอร์ต้องเปิดด้วยเหตุผลที่มากพอและเอียดพอ”
.
ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนการหาจุดเข้าออเดอร์มันเป็นเรื่องรองมันไม่ใช่เรื่องยาก เพราะทิศทางการชี้ชะตาของการเทรดว่าจะกำไร หรือ ขาดทุน มันมีแค่ 2 ทิศทางคือ Buy กับ Sell เท่านั้น หากลองนึกแบบง่ายๆ แค่เราดูเทรนด์หลัก เทรนด์ปัจจุบันออก สมมุติเทรนด์เป็นขาขึ้นชัดเจน เราไม่รู้เรื่องการอ่านสัญญาณจาก indicator อื่นๆเลย เราเห็นว่าขาขึ้นมันสอดคล้องกันทั้งเทรนด์หลัก เทรนด์ย่อย เราก็กด Buy ไปเลย แน่นอนมันอาจมีโอกาสพลาด แต่หากเทียบเปอร์เซนต์ระหว่างพลาดกับไม่พลาด การเทรดตามเทรนด์มันย่อมมีโอกาสที่จะได้มากกว่าเสียแน่นอน
.
แล้วอะไรล่ะที่เราจะให้ความสำคัญมากกว่าจุดเข้าออเดอร์ คำตอบก็คือ
.
1. การวางแผนบริหารความเสี่ยง
2. การวางแผนบริหารความโลภ
.
การวางแผนบริการความเสี่ยง
ก็คือการวางแผนเบื้องต้นว่าการเทรดครั้งนี้เราจะยอมสูญเสียจากการเทรดแล้วพลาดกี่เปอร์เซนต์ เช่นมีเงินในพอร์ต $100 เปิด Lot size ที่ 0.01 เราจะยอมสูญเสียในการเปิดออเดอร์ครั้งนี้ 10%(ซึ่งถือว่ามากอยู่นะ) นั้นก็คือหากเกิดความผิดพลาดเราจะเสียเงิน $10 โดยประมาณที่ Lot size 0.01
แต่ 10% นี้คิดจากจำนวนออเดอร์ที่เปิดรวมกันทั้งหมดในครั้งนั้นนะครับ เช่น เปิด 4 ออเดอร์ ก็จะเฉลี่ยความเสี่ยง 2.5%ต่อออเดอร์(2.5×4=10) นั้นก็คือเราจะตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 250 จุด(25pip) โดยรวมค่าสเปรด(Spread) ไว้ด้วย โดยค่าสเปรดดูได้จากช่อง Market Watch โดยคลิ๊กขวาที่ช่อง Market Watch แล้วเลือก Spread ที่ช่อง Market Watch ก็จะแสดง
ค่าสเปรดให้เห็น ค่าสเปรดมันจะหุบ จะ ถ่าง ตามปริมาณการซื้อขาย เราเอาค่าคร่าวๆโดยเฉลี่ยก็พอ เท่านี้เราก็จะสร้างเกาะป้องกันการล้างพอร์ตไว้ได้แล้วในระดับหนึ่ง เพียงแต่ทำมือให้นิ่งอย่าลากอย่าเลื่อนจุด Stop Loss จากที่กำหนดไว้แล้วแค่นั้น
.
การวางแผนบริการความโลภ
ตรงนี้คนส่วนใหญ่มักจะพลาดและพลาดบ่อยมากๆและไม่เคยจดจำ ยังทำซ้ำๆและหลายๆคนไม่คิดจะเปลี่ยนเพราะมันเคยชินไปแล้ว ปัญหาหลักของข้อนี้คือการใช้กฎ Risk and Reward ไม่ถูกต้อง เช่นกำหนด Risk ไว้ดีเช่น กำหนด Stop Loss ไว้ที่ 2.5% (250จุด) แต่ละออเดอร์จากจำนวนออเดอร์ 4 ออเดอร์ แต่ตั้งค่า Take Profit ไว้ที่ 5000จุด ซึ่งหากราคาวิ่งไปถึง 5000 จุดก็จะได้กำไร $50 ที่ Lot size 0.01 โดยประมาณ
แต่บ่อยๆครั้งราคามันมักไปไม่ถึง Take Profit ที่เรากำหนดไว้ไกลเกินไป มันวิ่งไป 800 จุด แล้วดันกลับตัวลงไปชน Stop Loss แทนที่จะได้กำไร $8 ก็กลายเป็นขาดทุน $2.5 ปัญหานี้เชื่อว่านักเมทรดทุกๆคนเจอกันมาถ้วนหน้า แต่น้อยคนนักที่จะคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไข
.
การแก้ไขปัญหาความโลภนี้แก้ง่ายๆเพียงแค่กำหนดค่า Risk and Reward หรือที่เรียกย่อๆว่า RR ให้เหมาะสมเท่านั้น เช่นตั้งค่า Stop Loss ไว้ที่ 250 จุด ก็ตั้งค่า Take Profit ไว้ที่ 500 จุด ก็คือใช้ RR=1:2 นั้นเอง
สมมุติเปิด Buy
>—- TP จากจุด Buy 500 จุด —
.
.
>—- เปิด Buy ตรงนี —
.
>—- SL จากจุด Buy 250 จุด —
หากเราได้กำไรจากการวางแผนเทรดครั้งนี้ $5 เราสามารถที่จะขาดทุนติดต่อกันได้อีก 2 ครั้ง(2.5×2=5) ตรงนี้เองที่เราจะมองเห็นจุดที่พอร์ตจะสามารถเติบโตได้ โดยสัดส่วนของความเสี่ยงที่ถูกกดลงด้วยสัดส่วนของกำไรที่มากกว่าอย่างเหมาะสม
.
ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นมันก็เป็นแค่พื้นฐานการเทรดที่ทุกๆคนเคยอ่านผ่านตามาแทบทุกคน แต่ไม่ค่อยนำมาปฎิบัติจริงๆจัง หากพิจารณาดีๆการเทรดฟอเร็กซ์มันไม่ได้ยากอะไรเลย ที่ยากเพราะคนเราไปปรุงแต่งมันมากกว่า เช่น ต้องใช้เครื่องมือ Indicator จำนวนมากช่วย หน้าจอมีเส้นแสงมากมายยังกะสายรุ้งเจ็ดสีมณีเจ็ดแสง ต้องกางสูตรคำนวณหาค่าอะไรต่ออะไรยุ่งยากวุ่นวาย ซึ่งมันก็ดีหากวิธีนี้เทคนิคนี้ มันถูกจริตของคนนั้นๆ ซึ่งหากดูดีๆเทคนิคเหล่านี้มันก็แค่เปลือกนอกของแกนเท่านั้น
.
แกนหรือตัวหลักมันไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลย มันคือพฤติกรรมจิตวิทยาหมู่ของนักเทรดทั่วโลก+ข่าวที่ส่งผลต่อคู่เงิน เท่านั้น พฤติกรรมจิตวิทยาหมู่ มันมักจะแสดงออกผ่านกราฟราคาสดๆทันที โดยมันมักจะไปกระทำต่อแนวรับ แนวต้าน หรือโซนราคา ให้พอเห็นได้ หรือ อาจเห็นได้ชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตลาด ณ.เวลานั้นๆ หากอ่านมาถึงตรงนี้ผู้เขียนคิดว่าท่านคงพอมองภาพออกว่าจะเริ่มต้นวางแผนการศึกษาการเทรดอย่างไรดี หากยังนึกภาพไม่ออกก็จะขออนุญาตสรุปให้ดังนี้
.
1. หากเริ่มต้นศึกษาการเทรดฟอเร็กซ์เบื้องต้นอย่าไปมุ่งหาเครื่องมือให้สัญญาณเด็ดๆดีๆให้เสียเวลา ลองเอาเครื่องมืออะไรก็ได้ที่หาได้สะดวกใกล้ตัว ซัก 1 หรือ 2 ตัวก็พอ ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องมือมากกว่านี้ ศึกษากลักการใช้งานของเครื่องมือให้ถ่องแท้จากหลายๆสำนักจากหลายๆแหล่งให้มากที่สุด เพราะจะมีบางแห่งบางสำนักมีมุมมองมีวิธีที่พิเศษทำให้เราสามารถได้ประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้ในการเทรด ตรงนี้อย่าเอาเป็นตัวหลักในการเข้าออเดอร์นะครับ เราจะใช้เพียงตัวช่วยในการตัดสินใจเท่านั้น
.
2. ศึกษาเรื่องแนวรับ แนวต้าน หรือ โซนราคา ตรงนี้ไม่ค่อยมีอะไรที่ต้องศึกษามากนัก แต่จะเป็นการฝึกการสังเกตุเสียมากกว่า ข้อนี้ต้องดูกราฟราคาบ่อยๆดูแล้วไล่ย้อนไปมาแล้วสังเกตุพฤติกรรมของราคาที่กระทำต่อแนวรับ แนวต้าน หรือ โซนราคา แล้วสร้างจินตนาการประกอบ ฝึกบ่อยๆนานๆ จนให้มันเป็นสัญชาตญาณ ถึงเวลานั้นมันจะช่วยได้มากแค่คิดแค่เห็นคำตอบมันก็จะมาทันที เพราะมันเกิดจากฐานความรู้ที่แน่นเนื่องจากการฝึกฝนอย่างหนักจนหล่อหลอมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเราหรือเรียกว่าสัญชาตญาณนั้นเอง
.
3. ศึกษาเรื่องของเทรนด์ รวมถึงการใช้งานเส้นเทรนด์ไลน์ เพราะเทรนด์จะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ควรเลือกเทรดตามเทรนด์หลัก มันจะลดความเสี่ยงลงไปได้มาก โอกาสที่จะได้กำไรจะมีมากกว่าสูญเสีย แม้กระทั้งการใช้งาน EA หากเรารู้จักหาเทรนด์หลักมองเทรนด์ออกเราก็แค่สั่งให้ EA ออกออเดอร์เฉพาะตามเทรนด์ เราก็จะลดจำนวนออเดอร์ที่เปิดสวนเทรนด์และมีความเสี่ยงสูงลงไปได้มาก เพียงแต่จำนวนความถี่ในการเปิดออเดอร์ก็จะลดลงไปแค่นั้น
.
4. ฝึกขัดใจตนเองให้ได้มากที่สุด ชอบลุย ชอบเร็วๆ ก็ฝึกเทรดที่ ไทม์เฟรมใหญ่ๆ ชอบ M1 M5 ก็ไปฝึก D1 หรือ ต่ำสุดก็ H4 ฝืนใจฝืนความรู้สึกหน่อย ไม่นานหรอกครับเดี๋ยวก็คุ้นเคยเอง ข้อนี้ผู้เขียนเจอมากับตัวเต็มๆจังๆ เพระาติดการเทรดไบนารี่ออฟชั่นขึ้นสมอง จะเทรดส่วนมากที่ M1 เป็นหลัก เมื่อมาเทรดฟอเร็กซ์ก็เทรดที่ M1 เช่นเดิมผลก็คือเหนื่อย เครียด จนได้เห็นนักเทรดที่ประสบความสำเร็จจริงๆจังๆทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ส่วนใหญ่และส่วนมากจะเทรดกันที่ H4 และ D1 ผู้เขียนเองก็ฝืนใจฝึกฝนนานมากกว่าจะคุ้นเคยกับมัน เมื่อคุ้นเคยแล้วเราจะเห็นความแตกต่าง และข้อดีของ H4 และ D1 มากมาย ที่ท่านที่ไม่เคยสัมผัส จะแปลกใจและเรารำพึงว่า “ทำไมตรูถึงไม่เทรดแบบนี้ตั้งแต่ต้นว่ะ”
สรุปอีกรอบหากต้องการเทรดฟอเร็กซ์มีกำไร ให้เทรดด้วยเทคนิคนี้
— เทรดตามเทรนด์หลัก
— ดูราคาที่แนวรับแนวต้านหรือโซนราคาเพื่อหาจังหวะเปิดออเดอร์บริเวณนี้
— เปิดออเดอร์เมื่อแท่งเทียนเปลี่ยนแท่งใหม่ และ รอจังหวะราคาย่อตัว
— ใช้ไทม์เฟรม H4 หรือ D1
— เช็คข่าวก่อนเทรด
— กำหนด SL และ TP ที่เหมาะสมทุกออเดอร์
แถมท้ายด้วยความรู้เรื่องข่าว PMI ที่คุ้นตากันบ่อยๆ เพราะเป็นตัวชี้วัดระดับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆในระยะสั้นได้เป็นอย่างดี