เทคนิคการเทรดแบบกราฟเปล่า โดยไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบ Price action หรือ ใช้ Indicator อะไรเลยก็ได้ ในภาพอาจมีสัญญาณลูกศรที่ผู้เขียนได้พัฒนามาใช้งานนานมาแล้วมันเป็นผลจากการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย SMA200 กับ EMA10 เพื่อใช้ดูเทรนด์หลัก ท่านสามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยสองค่านี้ได้เลยดูแค่การตัดขึ้นตัดลงเท่านั้นก็พอจะมองเห็นเทรนด์หลักได้
.
การเทรดฟอเร็กซ์มันต้องมีจินตนาการถึงจะมีอรรถรสในการเทรด หากเทรดแบบทื่อๆดูสัญญาณแล้วเข้าออกตามสัญญาณบางทีมันก็แม่น บางทีมันก็พลาดอันเนื่องจากราคามันไปสุดปลายเทรนด์หรือมีข่าวแรงๆที่ประกาศออกมาส่งผลลบต่อคู่เงินที่เทรด
.
ข่าวมันเป็นอะไรที่สามารถเปลี่ยนทิศทางของตลาดได้เร็วที่สุด ทำลายสถิติที่ indicator ทั้งหลายใช้อ้างอิงลงไปในพริบตา แต่ข่าวมันจะมีสัญญาณแสดงออกมาก่อนประกาศตัวเลขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากติดตามและสังเกตุจะเห็นรูปแบบของกราฟก่อนประกาศข่าว อาจมีการพักตัวลงดื้อๆหากข่าวนั้นแรง อาจมีทิศทางหลอกๆหรือเกิดจากนักเทรดจำนวนหนึ่งที่มากพอที่ต่างคาดการณ์สวนการพยากรณ์ หรือ เกิดจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่เข้ามาสร้างโวลลุ่มสั้นๆเพื่อทำกำไรสั้นๆ
.
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเทรดก็คือ แนวรับ แนวต้าน ซึ่งมองได้หลายรูปแบบ หากตีเส้นแนวนอนก็จะมองแบบแนวรับแนวต้าน เมื่อราคาเข้ามาทดสอบที่เส้นแนวรับหรือแนวต้านบ่อยๆแล้วไม่ผ่านแสดงว่าเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่ง
.
อีกวิธีหนึ่งที่มองแบบโซนราคาโดยการลากเป็นแถบระบาย หากใช้วิธีนี้เราจะมองเห็นการพักตัวตามโซนราคาได้ชัดเจน
พักตัวแล้วไปต่อ หรือ พักตัวแล้วกลับตัวลง มันเป็นพฤติกรรมปกติของตลาดฟอเร็กซ์อยู่แล้วที่ วิ่งแล้วพักวิ่งแล้วพัก
.
การใช้การมองแบบโซนราคามันก็จะคล้ายๆการมองแบบ Demand(ความต้องการซื้อ) และ Supply(ความต้องการขาย) ซึ่งจะแสดงออกถึงพฤติกรรมความต้องการซื้อ(Buy) กับ ความต้องการขาย(Sell) ได้ชัดเจน เมื่อมีการเข้าซื้อตอนสินค้าราคาถูกก็จะซื้อๆๆๆ เมื่อราคาขึ้นมาสูงก็จะลดการซื้อลงเพราะราคามันแพงเกินไปแล้วกำไรจะน้อย เมื่อกำลังซื้อลดลงมันก็จะแสดงรูปแบบการพักตัวของราคา ก็คือลักษณะ Sideway นั้นเอง เมื่อจำนวนซื้อมีมากและหยุดการซื้อ ความต้องการเทขายออกมาทำกำไรก็จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติของตลาดหุ้น หรือ ตลาดฟอเร็กซ์อยู่แล้ว
พฤติกรรมเหล่านี้มันเกิดขึ้นซ้ำๆ หากเราสังเกตุและเอามาใช้ประกอบการเทรดมันก็เกิดประโยชน์อย่างมาก มันเหมือนกฎธรรมชาติ เมื่อราคามันวิ่งมาแรงมันก็พักตัว(Base) แล้วมันก็วิ่งต่อแต่จะวิ่งตามทิศทางเดิม หรือ วิ่งกลับทิศทาง ก็ต้องดูหลายๆปัจจัยประกอบ แต่กราฟราคามันก็ช่วยแสดงออกมาให้เห็นได้ในระดับหนึ่งที่สามารถใช้ช่วยในการตัดสินใจได้พอสมควร
.
การทดสอบของราคาที่วิ่งมากระทำบริเวณโซนราคาหากมองแบบ Demand/Supply ยิ่งราคามาทดสอบบ่อยครั้งมากเท่าไหร่ โซนราคาก็จะยิ่งอ่อนแอ มีโอกาสทะลุได้มากขึ้น ซึ่งมันก็คือการปรับฐานราคาใหม่นั้นเอง ไม่มีสินค้าไหนหรอกที่จะคงราคาเดิมอยู่ในกรอบราคาสูงสุดต่ำสุดที่เท่าๆเดิมไปตลอด ราคาจะมีการปรับฐานใหม่ไปเรื่อยๆมีทั้งปรับขึ้นหรืออาจปรับลงมันไปตามกลไกการซื้อขายปกติของตลาดอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมีความต้องการซื้อมากราคาก็ย่อมสูง เมื่อมีความต้องการขายมากกว่าซื้อราคาก็ย่อมต่ำลง เป็นเรื่องปกติ แต่เรื่องปกติเหล่านี้มันแสดงออกมาผ่านกราฟราคาให้เราเห็นได้ เพียงแต่เราต้องสังเกตุบ่อยๆ เราจะเห็นการ วิ่ง พัก วิ่ง พัก และเห็นจุดเข้าทำกำไรได้ไม่ยาก
.
ปัญหาของการเทรดฟอเร็กซ์ที่มือใหม่ หรือ มือเก่าหลายๆคนมักจะคิดว่าจะเอาชนะปัญหานี้ก็คือการหาจุดเข้าออเดอร์ที่ดี โดยพยายามหาเครื่องมือให้สัญญาณแบบต่างๆ เพื่ออยากได้จุดเข้าออเดอร์ที่ได้กำไร หรือหาแหล่งคาดการณ์ทิศทางราคาของคู่เงินต่างๆว่านาทีนี้ ชั่วโมงนี้ วันนี้ ราคาจะไปทิศทางใด ตรงนี้มันเหมือนเราพึ่งจมูกคนอื่นหายใจ เครื่องมือต่างๆ การคาดการณ์ทิศทางราคาต่างๆ มันดีจริงแต่มันดีแค่ครึ่งเดียว หลายๆครั้งมันก็พอเราผิดทางได้เช่นกัน
.
ในการเทรดที่ดีเราควรเอาเครื่องมือต่างๆหรือผลการวิเคราะห์คาดการณ์ทิศทางของราคาจากแหล่งต่างๆมาช่วยสรุปออกมาว่ามันมีโอกาสกี่เปอร์เซนต์ แล้วเราค่อยมาวิเคราะห์จากกราฟราคา จากข่าวที่รอประกาศในช่วงนั้น ว่ามันสอดคล้องกับผลการสรุปจากเครื่องมือและการพยาการณ์ทิศทางหรือไม่ ตรงนี้แหละครับที่สำคัญ
“ทุกๆออเดอร์ต้องเปิดด้วยเหตุผลที่มากพอและเอียดพอ”
.
ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนการหาจุดเข้าออเดอร์มันเป็นเรื่องรองมันไม่ใช่เรื่องยาก เพราะทิศทางการชี้ชะตาของการเทรดว่าจะกำไร หรือ ขาดทุน มันมีแค่ 2 ทิศทางคือ Buy กับ Sell เท่านั้น หากลองนึกแบบง่ายๆ แค่เราดูเทรนด์หลัก เทรนด์ปัจจุบันออก สมมุติเทรนด์เป็นขาขึ้นชัดเจน เราไม่รู้เรื่องการอ่านสัญญาณจาก indicator อื่นๆเลย เราเห็นว่าขาขึ้นมันสอดคล้องกันทั้งเทรนด์หลัก เทรนด์ย่อย เราก็กด Buy ไปเลย แน่นอนมันอาจมีโอกาสพลาด แต่หากเทียบเปอร์เซนต์ระหว่างพลาดกับไม่พลาด การเทรดตามเทรนด์มันย่อมมีโอกาสที่จะได้มากกว่าเสียแน่นอน
.
แล้วอะไรล่ะที่เราจะให้ความสำคัญมากกว่าจุดเข้าออเดอร์ คำตอบก็คือ
.
1. การวางแผนบริหารความเสี่ยง
2. การวางแผนบริหารความโลภ
.
การวางแผนบริการความเสี่ยง
ก็คือการวางแผนเบื้องต้นว่าการเทรดครั้งนี้เราจะยอมสูญเสียจากการเทรดแล้วพลาดกี่เปอร์เซนต์ เช่นมีเงินในพอร์ต $100 เปิด Lot size ที่ 0.01 เราจะยอมสูญเสียในการเปิดออเดอร์ครั้งนี้ 10%(ซึ่งถือว่ามากอยู่นะ) นั้นก็คือหากเกิดความผิดพลาดเราจะเสียเงิน $10 โดยประมาณที่ Lot size 0.01
แต่ 10% นี้คิดจากจำนวนออเดอร์ที่เปิดรวมกันทั้งหมดในครั้งนั้นนะครับ เช่น เปิด 4 ออเดอร์ ก็จะเฉลี่ยความเสี่ยง 2.5%ต่อออเดอร์(2.5×4=10) นั้นก็คือเราจะตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 250 จุด(25pip) โดยรวมค่าสเปรด(Spread) ไว้ด้วย โดยค่าสเปรดดูได้จากช่อง Market Watch โดยคลิ๊กขวาที่ช่อง Market Watch แล้วเลือก Spread ที่ช่อง Market Watch ก็จะแสดง
ค่าสเปรดให้เห็น ค่าสเปรดมันจะหุบ จะ ถ่าง ตามปริมาณการซื้อขาย เราเอาค่าคร่าวๆโดยเฉลี่ยก็พอ เท่านี้เราก็จะสร้างเกาะป้องกันการล้างพอร์ตไว้ได้แล้วในระดับหนึ่ง เพียงแต่ทำมือให้นิ่งอย่าลากอย่าเลื่อนจุด Stop Loss จากที่กำหนดไว้แล้วแค่นั้น
.
การวางแผนบริการความโลภ
ตรงนี้คนส่วนใหญ่มักจะพลาดและพลาดบ่อยมากๆและไม่เคยจดจำ ยังทำซ้ำๆและหลายๆคนไม่คิดจะเปลี่ยนเพราะมันเคยชินไปแล้ว ปัญหาหลักของข้อนี้คือการใช้กฎ Risk and Reward ไม่ถูกต้อง เช่นกำหนด Risk ไว้ดีเช่น กำหนด Stop Loss ไว้ที่ 2.5% (250จุด) แต่ละออเดอร์จากจำนวนออเดอร์ 4 ออเดอร์ แต่ตั้งค่า Take Profit ไว้ที่ 5000จุด ซึ่งหากราคาวิ่งไปถึง 5000 จุดก็จะได้กำไร $50 ที่ Lot size 0.01 โดยประมาณ
แต่บ่อยๆครั้งราคามันมักไปไม่ถึง Take Profit ที่เรากำหนดไว้ไกลเกินไป มันวิ่งไป 800 จุด แล้วดันกลับตัวลงไปชน Stop Loss แทนที่จะได้กำไร $8 ก็กลายเป็นขาดทุน $2.5 ปัญหานี้เชื่อว่านักเมทรดทุกๆคนเจอกันมาถ้วนหน้า แต่น้อยคนนักที่จะคิดเปลี่ยนแปลงแก้ไข
.
การแก้ไขปัญหาความโลภนี้แก้ง่ายๆเพียงแค่กำหนดค่า Risk and Reward หรือที่เรียกย่อๆว่า RR ให้เหมาะสมเท่านั้น เช่นตั้งค่า Stop Loss ไว้ที่ 250 จุด ก็ตั้งค่า Take Profit ไว้ที่ 500 จุด ก็คือใช้ RR=1:2 นั้นเอง
สมมุติเปิด Buy
>—- TP จากจุด Buy 500 จุด —
.
.
>—- เปิด Buy ตรงนี —
.
>—- SL จากจุด Buy 250 จุด —
หากเราได้กำไรจากการวางแผนเทรดครั้งนี้ $5 เราสามารถที่จะขาดทุนติดต่อกันได้อีก 2 ครั้ง(2.5×2=5) ตรงนี้เองที่เราจะมองเห็นจุดที่พอร์ตจะสามารถเติบโตได้ โดยสัดส่วนของความเสี่ยงที่ถูกกดลงด้วยสัดส่วนของกำไรที่มากกว่าอย่างเหมาะสม
.
ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นมันก็เป็นแค่พื้นฐานการเทรดที่ทุกๆคนเคยอ่านผ่านตามาแทบทุกคน แต่ไม่ค่อยนำมาปฎิบัติจริงๆจัง หากพิจารณาดีๆการเทรดฟอเร็กซ์มันไม่ได้ยากอะไรเลย ที่ยากเพราะคนเราไปปรุงแต่งมันมากกว่า เช่น ต้องใช้เครื่องมือ Indicator จำนวนมากช่วย หน้าจอมีเส้นแสงมากมายยังกะสายรุ้งเจ็ดสีมณีเจ็ดแสง ต้องกางสูตรคำนวณหาค่าอะไรต่ออะไรยุ่งยากวุ่นวาย ซึ่งมันก็ดีหากวิธีนี้เทคนิคนี้ มันถูกจริตของคนนั้นๆ ซึ่งหากดูดีๆเทคนิคเหล่านี้มันก็แค่เปลือกนอกของแกนเท่านั้น
.
แกนหรือตัวหลักมันไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลย มันคือพฤติกรรมจิตวิทยาหมู่ของนักเทรดทั่วโลก+ข่าวที่ส่งผลต่อคู่เงิน เท่านั้น พฤติกรรมจิตวิทยาหมู่ มันมักจะแสดงออกผ่านกราฟราคาสดๆทันที โดยมันมักจะไปกระทำต่อแนวรับ แนวต้าน หรือโซนราคา ให้พอเห็นได้ หรือ อาจเห็นได้ชัดเจน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตลาด ณ.เวลานั้นๆ หากอ่านมาถึงตรงนี้ผู้เขียนคิดว่าท่านคงพอมองภาพออกว่าจะเริ่มต้นวางแผนการศึกษาการเทรดอย่างไรดี หากยังนึกภาพไม่ออกก็จะขออนุญาตสรุปให้ดังนี้
.
1. หากเริ่มต้นศึกษาการเทรดฟอเร็กซ์เบื้องต้นอย่าไปมุ่งหาเครื่องมือให้สัญญาณเด็ดๆดีๆให้เสียเวลา ลองเอาเครื่องมืออะไรก็ได้ที่หาได้สะดวกใกล้ตัว ซัก 1 หรือ 2 ตัวก็พอ ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องมือมากกว่านี้ ศึกษากลักการใช้งานของเครื่องมือให้ถ่องแท้จากหลายๆสำนักจากหลายๆแหล่งให้มากที่สุด เพราะจะมีบางแห่งบางสำนักมีมุมมองมีวิธีที่พิเศษทำให้เราสามารถได้ประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้ในการเทรด ตรงนี้อย่าเอาเป็นตัวหลักในการเข้าออเดอร์นะครับ เราจะใช้เพียงตัวช่วยในการตัดสินใจเท่านั้น
.
2. ศึกษาเรื่องแนวรับ แนวต้าน หรือ โซนราคา ตรงนี้ไม่ค่อยมีอะไรที่ต้องศึกษามากนัก แต่จะเป็นการฝึกการสังเกตุเสียมากกว่า ข้อนี้ต้องดูกราฟราคาบ่อยๆดูแล้วไล่ย้อนไปมาแล้วสังเกตุพฤติกรรมของราคาที่กระทำต่อแนวรับ แนวต้าน หรือ โซนราคา แล้วสร้างจินตนาการประกอบ ฝึกบ่อยๆนานๆ จนให้มันเป็นสัญชาตญาณ ถึงเวลานั้นมันจะช่วยได้มากแค่คิดแค่เห็นคำตอบมันก็จะมาทันที เพราะมันเกิดจากฐานความรู้ที่แน่นเนื่องจากการฝึกฝนอย่างหนักจนหล่อหลอมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเราหรือเรียกว่าสัญชาตญาณนั้นเอง
.
3. ศึกษาเรื่องของเทรนด์ รวมถึงการใช้งานเส้นเทรนด์ไลน์ เพราะเทรนด์จะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ควรเลือกเทรดตามเทรนด์หลัก มันจะลดความเสี่ยงลงไปได้มาก โอกาสที่จะได้กำไรจะมีมากกว่าสูญเสีย แม้กระทั้งการใช้งาน EA หากเรารู้จักหาเทรนด์หลักมองเทรนด์ออกเราก็แค่สั่งให้ EA ออกออเดอร์เฉพาะตามเทรนด์ เราก็จะลดจำนวนออเดอร์ที่เปิดสวนเทรนด์และมีความเสี่ยงสูงลงไปได้มาก เพียงแต่จำนวนความถี่ในการเปิดออเดอร์ก็จะลดลงไปแค่นั้น
.
4. ฝึกขัดใจตนเองให้ได้มากที่สุด ชอบลุย ชอบเร็วๆ ก็ฝึกเทรดที่ ไทม์เฟรมใหญ่ๆ ชอบ M1 M5 ก็ไปฝึก D1 หรือ ต่ำสุดก็ H4 ฝืนใจฝืนความรู้สึกหน่อย ไม่นานหรอกครับเดี๋ยวก็คุ้นเคยเอง ข้อนี้ผู้เขียนเจอมากับตัวเต็มๆจังๆ เพระาติดการเทรดไบนารี่ออฟชั่นขึ้นสมอง จะเทรดส่วนมากที่ M1 เป็นหลัก เมื่อมาเทรดฟอเร็กซ์ก็เทรดที่ M1 เช่นเดิมผลก็คือเหนื่อย เครียด จนได้เห็นนักเทรดที่ประสบความสำเร็จจริงๆจังๆทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ ส่วนใหญ่และส่วนมากจะเทรดกันที่ H4 และ D1 ผู้เขียนเองก็ฝืนใจฝึกฝนนานมากกว่าจะคุ้นเคยกับมัน เมื่อคุ้นเคยแล้วเราจะเห็นความแตกต่าง และข้อดีของ H4 และ D1 มากมาย ที่ท่านที่ไม่เคยสัมผัส จะแปลกใจและเรารำพึงว่า “ทำไมตรูถึงไม่เทรดแบบนี้ตั้งแต่ต้นว่ะ”
สรุปอีกรอบหากต้องการเทรดฟอเร็กซ์มีกำไร ให้เทรดด้วยเทคนิคนี้
— เทรดตามเทรนด์หลัก
— ดูราคาที่แนวรับแนวต้านหรือโซนราคาเพื่อหาจังหวะเปิดออเดอร์บริเวณนี้
— เปิดออเดอร์เมื่อแท่งเทียนเปลี่ยนแท่งใหม่ และ รอจังหวะราคาย่อตัว
— ใช้ไทม์เฟรม H4 หรือ D1
— เช็คข่าวก่อนเทรด
— กำหนด SL และ TP ที่เหมาะสมทุกออเดอร์
แถมท้ายด้วยความรู้เรื่องข่าว PMI ที่คุ้นตากันบ่อยๆ เพราะเป็นตัวชี้วัดระดับการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆในระยะสั้นได้เป็นอย่างดี

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.