ถ้าหากเพื่อนๆ เป็นนักลงทุนที่มีประสบการณ์ สามารถสร้างรายได้จากการเทรดได้สม่ำเสมอ และมีคำถามหนึ่งที่ติดอยู่ในใจคือ
“เราจะลาออกไปเป็น Full Time Trader ดีไหม ?”
นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก การตัดสินใจดังกล่าว อาจเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตคุณไปตลอด
การลาออกจากงาน เพื่อมาเทรดเป็นอาชีพ จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ และเตรียมรับมือกับผลที่อาจจะตามมา
ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่มีประสบการณ์สูง เคยมีผลงานเทรดที่ดี
แต่การผันตัวเองไปเป็น Full Time Trader นั้นมีจุดเปลี่ยนที่คุณต้องทำความเข้าใจ
1. ความกดดันที่เพิ่มขึ้น ?
คุณอาจเคยเทรดได้ดีในช่วงที่ผ่านมา แต่เมื่อคุณลาออกจากงานประจำ ความกดดันจะเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากการเทรดนั้น กลายเป็นรายได้หลัก ของครอบครัวและลูกๆของคุณ
การรักษาวินัย การบริหารความเสี่ยง จึงต้องมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
นอกจากการกดดันตัวเอง สถานการณ์รอบข้างก็จะยิ่งกดดันคุณมากขึ้นโดยอัตโนมัติ
ซึ่งนั้นอาจกลายเป็นการสะสมความเครียด และมักจะส่งผลให้การตัดสินใจเทรดแต่ละครั้งของคุณแย่ลง
คุณอาจจะไม่สามารถตัดสินใจเทรดได้ดีเหมือนเมื่อก่อน เพราะความกดดันที่มากขึ้น
และอาจนำไปสู่ความกังวลเกี่ยวกับระบบเทรด ทั้งๆที่คุณเคยทดสอบมันมาเป็นอย่างดีแล้ว
คุณต้องถามตัวเองว่า…
คุณจะรับมือกับความกดดัน,ความเครียด ที่เพิ่มสูงขึ้นได้หรือไม่ ?
ชั่วโมงบินของคุณสูงพอ ที่รับมือกับความผันผวนของตลาดหรือไม่ ?
2. มันจะช่วยให้คุณมีเวลามากขึ้นจริงๆหรือ ?
การลาออกจากงานมาเทรด เพื่อหวังว่าจะมีเวลาว่างอยู่กับครอบครัวมากขึ้น
ความฝันถึง Passive Income นั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
เพราะโดยส่วนใหญ่ “การเทรดเป็นอาชีพ” มันจะกลายเป็น Super Active (เทรดบ่อย) เสียมากกว่า
ซึ่งในส่วนนี้ มันขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบเทรดของคุณ ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณยังต้องทำงานหนักต่อไปหรือไม่
ระบบเทรดที่ดี มีขอบเขตเวลาอย่างชัดเจน อาจช่วยให้คุณใช้เวลาเทรดเพียงวันละ 10 นาที
แต่ระบบเทรดที่ไม่ดี ต้องเฝ้าหน้าจอทั้งวัน
นั้นจะเป็นฝันร้ายของคุณ
การลาออกจากงาน เพื่อมานั่งเฝ้าหน้าจอเทรดทั้งวัน
นี่ไม่ใช้เรื่องที่ฉลาดเท่าไหร่ เพราะทำให้เสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
เหมือนการหาเงินเก็บไว้ เพื่อรอไปรักษาตัวในโรงพยาบาล
คุณควรออกแบบการเทรดของคุณให้เป็นระบบ
มีช่วงเวลาเทรดที่ชัดเจน
การกำหนด Stop Loss,Take Profit อย่างชัดเจน เป็นส่วนช่วยให้เมื่อเปิดคำสั่งซื้อแล้ว ไม่ต้องไปเฝ้าหน้าจอบ่อยๆ
คุณต้องถามตัวเองว่า…
ระบบเทรดของคุณ ต้องใช้เวลาเฝ้าจอนานขนาดไหน มันทำให้คุณมีอิสระทางเวลาจริงๆไหม ?
คุณมีตารางเวลาการเทรดในแต่ละวันชัดเจนแล้วหรือไม่ ?
3. คุณมีระบบเทรดที่ไว้ใจได้จริงๆไหม ?
คุณได้ทดสอบสถิติของระบบเทรดของคุณมาดีพอแล้วหรือยัง
หากคุณจะลาออกจากงานประจำเพื่อมาเป็น Full Time Trader จริงๆ
คุณควรจะมีการทดสอบสถิติระบบเทรดของคุณ
*ย้อนหลังอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป
เพื่อที่มันจะพอเป็นตัวที่ชี้วัดได้ว่า ระบบเทรดของคุณมีความเสถียร มีประสิทธิภาพมากพอ
ที่จะรับมือกับความผันผวนของตลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ซึ่งคุณต้องเข้าใจระบบเทรดนั้นเป็นอย่างดี สิ่งสำคัญคือ คุณต้องสามารถรักษาวินัยทำตามระบบ
และสามารถทำตามแผนการบริหารความเสี่ยงของระบบเทรดนั้น ได้ตลอดรอดฝั่ง
คุณสามารถสรุปค่าสถิติระบบเทรดของคุณออกมาได้หรือไม่
คุณจะมีกำไรเฉลี่ยต่อเดือน/ต่อปีเท่าไหร่ ?
คุณจะมีโอกาสขาดทุนสะสมสูงสุดเท่าไหร่ (Maximal Drawdown) ?
4. คุณสามารถควบคุมอารมณ์ ให้อยู่เหนือตลาดได้ไหม ?
ถึงแม้ว่าคุณจะมีระบบเทรดที่ดีมาก แต่ทุกระบบเทรดย่อมมีช่วงเวลา Draw-Down Cycle (ช่วงขาดทุน)
ที่ผ่านมาคุณรู้สึกอย่างไร เมื่อเจอสถานการณ์ขาดทุนสะสม
คุณทราบหรือไม่ ?
แม้แต่นักลงทุนมืออาชีพ เมื่อเจอสถานการณ์ Drawdown ต่อเนื่อง ก็สติแตกได้!
ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ และพยายามที่จะแก้แค้นตลาด
ซึ่งนำไปสู่การ Over trade ไม่สนใจระบบ ไม่สนใจการบริหารความเสี่ยง แล้วจุดจบก็คือหายนะ
คุณต้องถามตัวเองว่า…
หากเจอสถานการณ์ขาดทุนสะสม คุณจะยังสามารถควบคุมอารมณ์ได้หรือไม่ ?
คุณมีเงินเก็บสำรองมากพอ เพื่อจะรอผ่านพ้นช่วง Drawdown Cycle ได้หรือไม่ ?
คุณจะยังสามารถรักษาวินัยทำตามระบบ บริหารความเสี่ยงตามแผนได้หรือไม่ ?
การตัดสินใจเป็น Full Time Trader
เรื่องนี้คุณต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ
เพราะไม่มีใครสามารถตอบคำถามนี้แทนคุณได้
หากคุณกำลังตัดสินใจเรื่องนี้อยู่ ลองตรวจสอบความพร้อมของตัวเองจาก 4 คำถามด้านบน
ถ้าจะลาออกจากงานประจำจริงๆ คุณต้องมีความพร้อม และควรที่จะตอบคำถามด้านบนได้อย่างชัดเจนและหนักแน่น
” อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียว “
การนำเงินทั้งหมดมาเทรดนั้น ไม่ใช่ความคิดที่ฉลาด
คุณควรวางแผนกระจายความเสี่ยงอย่างรอบคอบ
ทั้งเงินทุนสำรอง,ค่าใช้จ่ายครอบครัว,ค่ารักษาพยาบาล
หรืออาจกระจายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์กลุ่มอื่นด้วย
อาชีพ Full Time Trader ไม่ได้เหมาะกับทุกคน คุณต้องเป็นคนมีความรับผิดชอบสูงมาก มีวินัยที่จะอดทนทำตามระบบ ไปตลอดเส้นทาง
ระหว่างเส้นทางย่อมมีบาดแผล แต่ถ้าคุณมีความพยายามมากพอ
ปลายทางคือ “อิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง”

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.